ศาสนา และวันสำคัญทางศาสนา


                                 ศาสนา


ศาสนา (อังกฤษreligion) หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษirreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิก" (อังกฤษ:irreligious person)

   ·         ศาสนาพุทธ
·
·         พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1
·         ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม คือเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าและเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย[1] คือ ให้พึ่งตนเอง[2] เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์[3] มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด[4]
·         พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก[5] จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของฝ่าย เถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป[6]ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ[7] แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มี[8] หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ[9]
·         ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ประมาณ 700 ล้านคน[10][11][12] ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล[13]



ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ[2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรแตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาซับสะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียก "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10]พวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตรวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.2 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ

ศาสนาอิสลาม (อังกฤษIslam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยม (monotheism) บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งสาวกมองว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเจ้า (อาหรับاللهอัลลอฮฺ) และโดยคำสอนและตัวอย่างเชิงปทัสถาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดาหรือนบีองค์สุดท้ายของพระเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม
มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเจ้า[1][2] มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นศรัทธาตั้งแต่ยุคกำเนิดโลกที่สมบูรณ์และเป็นสากลที่สุด ซึ่งได้มีโอกาสเผยมาในหลายโอกาสและสถานที่ก่อนหน้านั้น รวมทั้งผ่านอับราฮัม โมเสส และพระเยซู ซึ่งมุสลิมมองว่าเป็นศาสดาเช่นกัน[3] พวกเขายึดมั่นว่า สารและการเปิดเผย (revelation) ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือด่างพร้อยบางส่วนเมื่อเวลาผ่านไป[4] แต่มองว่าอัลกุรอานเป็นทั้งการเปิดเผยสุดท้ายและที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของพระเจ้า[5] มโนทัศน์และหลักศาสนามีเสาหลักทั้งห้าของอิสลาม ซึ่งเป็นมโนทัศน์พื้นฐานและการปฏิบัติตนนมัสการที่ต้องปฏิบัติตาม และกฎหมายอิสลามที่ตามมา ซึ่งครอบคลุมแทบทุกมุมของชีวิตและสังคม โดยกำหนดแนวทางในหัวเรื่องหลายหลาก ตั้งแต่การธนาคารไปจนถึงสวัสดิการ การสงครามและสิ่งแวดล้อม[6][7]
มุสลิมส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์ คิดเป็น 75-90% ของมุสลิมทั้งหมด[8] นิกายใหญ่ที่สุดอันดับสอง คือ ชีอะฮ์ คิดเป็น 10-20%[9] ประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุด คือ อินโดนีเซียซึ่งมีชาวมุสลิม 12.7% ของโลก ตามมาด้วยปากีสถาน (11.0%) อินเดีย (10.9%) และบังกลาเทศ (9.2%)[10][11] นอกจากนี้ ยังพบชุมชนขนาดใหญ่ในจีน รัสเซียและยุโรปบางส่วน ด้วยสาวกกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 22% ของประชากรโลก[12][13] อิสลามจึงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดอันดับสองและหนึ่งในศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[14



ศาสนาฮินดู (อังกฤษHinduism) เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน[1] [2]
ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ พระพรหม[3]ซึ่งเป็นพระผู้สร้างโลก พระศิวะเป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุเป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก



คลิ๊กดูรายละเอียด วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้
ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม 
ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ 
พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์
 จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
 แขวงเมืองพาราณสี » อ่านต่อ

คลิ๊กดูรายละเอียด วันวิสาขบูชา
 วันวิสาขบูชา : ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก
 " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " 
ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗ » อ่านต่อ

คลิ๊กดูรายละเอียด วันอัฏฐมีบูชา
 วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) 

ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
 เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว
 พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา 
ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" » อ่านต่อ

คลิ๊กดูรายละเอียด วันอาสาฬหบูชา
 วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา
 เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 
คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ 
เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่
 พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร"
 ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง
 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา
 รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้
 เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม
 และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ 
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา » อ่านต่อ

คลิ๊กดูรายละเอียด วันเข้าพรรษา
 วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน
 เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย
 โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก 
พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา 
ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่า
ได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท 
ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้
 พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน 
โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 
นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร 
ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร 
รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย » อ่านต่อ

คลิ๊กดูรายละเอียด วันออกพรรษา
 วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝน
ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ » อ่านต่อ

 หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ
 การทอดกฐิน[รายละเอียด]

คลิ๊กดูรายละเอียด วันโกน-วันพระ
 วันโกน - วันพระ
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก
 เดือน ( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด ) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ
 กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ )» อ่านต่อ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น