ความเป็นครู
การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษ์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน และบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาดังกล่าวก็คือครูนั่นเอง เพราะครูเป็นผู้ที่มีหน้าที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และการพัฒนาโดยรอบให้เกิดในตัวผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเชิงวิชาการ นำไปสู่การมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งการดำรงตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงย่อมต้องพึ่งพาอาศัยครูที่มีคุณภาพ ครูที่มีความเป็นครู
คำว่า ครู หรือคุรุ ในภาษาไทย มาจากคำว่า คุรุธาตุ หรือ ครธาตุ ซึ่งแปลความได้ว่าเป็นผู้ที่หนักในวิชาความรู้ ในคุณธรรม และในภารกิจการงาน รวมทั้งการทำหน้าที่ยกย่องเชิดชูศิษย์ของตนเอง จากผู้ที่ไม่รู้ให้กลายเป็นผู้รู้ ผู้ที่ไม่มีความสามารถให้มีความสามารถ ผู้ที่ไม่มีความคิดให้มีความคิด ผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมให้มีความเหมาะสม และจากผู้ที่ไม่พึงปรารถนาให้เป็นผู้ที่พึงปรารถนา ซึ่งตามนัยของความเป็นครูในภาษาไทยจึงเป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักจริงๆ ส่วนในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า TEACHER ก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ
T- Teach E– Example A–Ability C- Characteristic H– Health E- Enthusiasm R - Responsibility
1. TEACH (การสอน)
คุณลักษณะประการแรกของความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี โดยการ :
1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3. สอนศิลปวิทยาให้หมดสิ้น
4. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
5. สร้างเครื่องคุ้มกันในสารทิศ (สอนให้รู้จักเลี้ยงตัว รักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี) และที่สำคัญคือ
6. ต้องสอนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา มีความคิด และสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตามการสอนของครูแต่ละคนนั้นขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง (Teaching skill and style) เป็นการนำเทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสมสอดคล้องกัน จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และต้องมุ่งจัดสรรการเรียนรู้นั้นไปในทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม บทบาทการสอนของครูจึงต้องดำเนินการ โดย
1. สอนเนื้อหาวิชาการตามหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย โดยการมีการเตรียมการสอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่การทำ Course Syllabus แผนจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนรายชั่วโมง การดำเนินการสอน และการประเมินผล มีการปรับปรุงพัฒนา และสร้างผลงานทางวิชาการอยู่เสมอ
2. สอนการปรับตัวให้เหมาะสมในสังคม
3. สอนให้ให้เจริญเติบโต มีความคิด มีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามแผนที่ได้กำหนดหรือเตรียมการไว้เป็นอย่างดี
2. EXAMPLE (เป็นตัวอย่าง)
ผู้เรียนโดยทั่วไปนั้นจะ “เรียน” และ “เลียน” จากตัวครู การทำตัวเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างจึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากกว่าการบอกกล่าวเฉยๆ เพราะการแสดงต้นแบบให้เห็นด้วยสายตานั้น เป็นภาพที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการลอกเลียนยิ่งกว่าการรับฟังและบอกเล่าอย่างปกติ ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเป็นอะไร จงพยายามแสดงออกเช่นนั้นทั้งในการดำเนินชีวิตและในการสนทนา
การวางตัวของครูเป็นตัวอย่างหรือเยี่ยงอย่างให้แก่ผู้เรียนได้มาก แม้ว่าผู้เรียนจะมีความคิด ความอ่านของตนเองที่ไม่ต้องการเลียนแบบผู้ใหญ่ทุกประการเหมือนเด็กเล็ก แต่ครูก็ คือครูที่ผู้เรียนพิจารณาว่ามีความหมายสำคัญอยู่มาก โดยเขาจะสนใจและเฝ้าสังเกตนับตั้งแต่การแต่งกาย ไปจนถึงการประพฤติปฏิบัติ จะเป็นประสบการณ์ให้เขาได้พิจารณา นอกจากนี้การรู้ตัวเองของครู การแนะนำให้ผู้เรียนประพฤติให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ครู (ตัวเรา) ต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เหมาะสมด้วย
3. ABILITY (ความสามารถ)
คำว่า “ความสามารถ” หมายถึงกำลังที่มีจริงในการแสดงหรือในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำทางกายหรือทางจิตใจ และไม่ว่ากำลังนั้นจะได้มาจากการฝึกฝนอบรมหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความสามารถทั่วไป (general ability) และความสามารถพิเศษ (specific ability) นอกจากนั้นครูจะต้องทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือนวตกรรมทางการศึกษา (inovation in teaching) เพื่อจะช่วยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นไป การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกับการวินิจฉัย การรักษาโรคทางการแพทย์หรือจะสมมติเป็นการปรุงอาหารในครัวก็ได้ ที่จะต้องแสดงฝีมืออย่างเต็มที่ให้ได้อาหารอร่อยที่สุด ดังนั้นครูจึงต้องประเมินตัวเอง ประเมินการสอน และปรับปรุงข้อบกพร่องของสิ่งที่ตนสอนไปเสมอ (diagnosis and treatment of course defects) เพื่อให้ผลการสอนดีที่สุด
นอกจากครูจะต้องเข้าใจบทบาทความเป็นครูของตนเองแล้ว (teacher’s role) ครูควรจะมีความสามารถดังนี้
- จิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of learning)
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสอนอย่างชัดเจน (specific of objectives)
- การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (learning activities)
- การนำโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยสอน (the application of audiovisual aids)
- การจัดทำแผนการสอน (course syllabus and Lesson planning)
- การประเมินการเรียนการสอน (assessment)
4. CHARACTERISTIC (คุณสมบัติ)
ความหมายที่ใช้โดยทั่วๆไป หมายถึง คุณภาพหรือคุณสมบัติที่สังเกตได้ชัดเจนในตัวบุคคล ทำให้ทราบได้ว่าบุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ในความหมายเฉพาะ อุปนิสัยหมายถึง ผลรวมของนิสัยต่างๆ ที่บุคคลมีอยู่ หรือผลรวมของลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล ตามความเข้าใจของคนทั่วไป คำว่าอุปนิสัยนี้แฝงความหมายของคุณธรรมจรรยาในตัวด้วย เช่น เราพูดว่าเขาผู้นั้นมีอุปนิสัยดี เป็นต้น ในคุณสมบัติของความเป็นครู สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ต่อวิชาที่สอน และต่องานที่ทำ
5. HEALTH (สุขภาพดี)
การมีสุขภาพดี หมายถึงการไม่มีโรค รวมถึงมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้ที่เป็นครูนั้นต้องทำงานหนัก ดังนั้นสุขภาพทางด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือสุขภาพจิต คงเคยได้ยินคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย จิตดีนั้นไม่เพียงแต่ไม่เป็นโรคจิตโรคประสาทเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ มีการงานและมีชีวิตที่เป็นสุขทำประโยชน์ต่อสังคมด้วยความพอใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต่อบุคคลที่เราอยู่ร่วมและต่อสังคมที่เราเกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
6. ENTHUSIASM (ความกระตือรือล้น)
ความกระตือรือล้นของครูนั้น อาจจะเป็นการใฝ่หาความรู้ใส่ตน เพราะจะต้องถือว่าการใฝ่หาความรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการพัฒนาตน (Learning to teach is a process of self-development) การเพิ่มพูนความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น การประชุมสัมมนา อบรมระยะสั้น จะทำให้ครูที่ขาดความรู้ในเรื่องที่ตนสอนได้มีความรู้เพิ่มเติมและทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น ความกระตือรือล้นของครูนั้น ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาตัวครูเท่านั้น แต่จะต้องมีความกระตือรือล้นในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการสอนของครู
สำหรับการสอนของครูในการช่วยเหลือผู้เรียนนั้น คำถามต่อไปนี้จะบ่งชี้ว่าครูท่านนั้นเป็นครูที่ดีหรือไม่ รวมทั้งตัวเราเองที่เป็นครูด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ การเป็นครูมืออาชีพใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่าย ๆ เพราะงานครูเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และหนัก ๆ กว่างานใด ๆ เป็นงานสร้างและพัฒนาคน และองค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคือ สติปัญญาซึ่งต้องยอมรับความเป็นจริงว่า โดยรวมผู้เรียนส่วนใหญ่มิได้มีระดับสิติปัญญาดีเลิศ ดังนั้นการจะพัฒนาพวกเขาจึงต้องอาศัยครู อาศัยพวกเรา-ท่าน เป็นหลัก เพราะอย่างน้อยก็มีส่วนแบ่งประมาณ 30-40 % ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของพวกเขา จึงใคร่ขอให้ทุกท่านที่เป็นครูจงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นครู ตามข้อเขียนที่ได้กล่าวถึงทั้งหมด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาตัวของท่านเอง
วิธีการ
|
บทบาทของครู
|
พฤติกรรม
|
เน้นครูเป็นศูนย์กลาง
การบรรยาย
|
มาก
|
การพูด ครูเสนอความรู้โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
|
การบรรยาย – ถามตอบ
|
มาก – ปานกลาง
|
การพูด ครูเสนอความรู้และมีส่วนของการถามตอบด้วย
|
การสาธิต
|
มาก – ปานกลาง
|
การแสดงให้ดู มีผู้แสดงให้ดูอยู่หน้าชั้นพร้อมอธิบายสิ่งที่แสดงให้ดู
|
การให้ทำตามตัวอย่าง
|
มาก
|
การแสดงให้ดู มีผู้ปฏิบัติให้ดูตามที่ต้องการให้ผู้เรียนทำตามหรือทำตามแบบ
|
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การอภิปราย
|
น้อย – ปานกลาง
|
การมีปฏิสัมพันธ์ทั้งชั้นเรียนหรือกลุ่มย่อย มีการแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
|
การอภิปรายแบบ Panel
|
น้อย
|
การพูด กลุ่มผู้เรียนนำเสนอและอภิปรายถกเถียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหน้าชั้น
|
การแสดงบทบาทสมมติ
|
น้อย
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงบทบาทในเหตุการณ์หรือสถานการณ์หนึ่งๆ
|
การเรียนแบบร่วมมือ
|
น้อย
|
การปฏิบัติ กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันร่วมมือกันทำงานที่กำหนดให้
|
วิธีการ
|
บทบาทของครู
|
พฤติกรรม
|
การค้นพบ
|
น้อย – ปานกลาง
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนดำเนินงานตามวิธีการที่กำหนดให้เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยอาศัยประสบการณ์ตรง
|
การเสาะแสวงหาความรู้
|
น้อย
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนคิดวิธีการแก้ปัญหาเอง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง
|
การสร้างสถานการณ์/เกม
|
น้อย
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในสถานการณ์ที่สร้างขึ้น หรือเหตุการณ์ที่เหมือนจริงที่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้
|
การสอนเป็นรายบุคคล
|
น้อย – ปานกลาง
|
การพูด/การปฏิบัติ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนที่ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับความต้องการและความสามารถของผู้เรียน
|
การศึกษาด้วยตนเอง
|
น้อย
|
การพูด/การปฏิบัติ การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีการแนะนำเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
|
การทำโครงงาน หรือโครงการ
|
น้อย
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนคิดวิธีการแก้ปัญหาเอง และดำเนินการแก้ปัญหา โดยอาศัยมีประสบการณ์ตรง อาจมีการแนะนำเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
|
การทำแฟ้มสะสมงาน
|
น้อย – ปานกลาง
|
การปฏิบัติ ผู้เรียนเรียนรู้ และมีพัฒนาการในเรื่องของการคิด การทำงาน การจัดการ การสื่อความหมาย และ สังคม โดยมีการแนะนำเพียงเล็กน้อย
|
7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ)
ครูที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี รวมทั้งยอมรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
การสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self learning)
1. ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเกี่ยวกับวิชาการที่เรียนหรือไม่ ?
2. ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่ ?
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด และฝึกทักษะในการทำงานหรือไม่ ?
การประเมินและการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลงานที่ทำ (Feed back)
4. บอกผู้เรียนหรือไม่ว่าเมื่อมอบหมายงานให้ทำแล้ว เขาทำงานเป็นอย่างไร?
5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ถึงข้อบกพร่องต่างๆ ที่ทำ ?
6. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้ดีกว่านี้ ?
การให้ความกระจ่างชัดในการสอน (Clearity)
7. สังเกตหรือไม่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถได้ยินและมองเห็นชัดเจน ?
8. ใช้คำพูดง่ายๆ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือไม่ ?
9. ใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีความหมายยิ่งขึ้นหรือไม่ ?
ซึ่งอุปกรณ์การสอนดังกล่าว อาจประกอบด้วย
- รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพวาด - ภาพโปสเตอร์
- แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ - ภาพหลัก
- ภาพติดกระดานผ้าสำลี - ภาพกระจกฉาย
- ภาพยนตร์ - ภาพชุด
- วัตถุของจริง - วัตถุจำลอง
- นิทรรศการ - เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
การทำให้การสอนมีความหมายมากขึ้น (Making your meaningful)
10. ได้สอนโดยเชื่อมโยงบทเรียนที่สอนกับสภาพที่ผู้เรียนเป็นอยู่หรือไม่ ?
11. ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพพจน์กระจ่างขึ้นหรือไม่ ?
12. ได้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสอนกับงานที่ผู้เรียนจะต้องกระทำหรือไม่ ?
13. ได้สรุปเพื่อให้ผู้ได้แนวคิดที่ดีอีกครั้งหรือไม่ ?
จะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเรียนรู้เรื่องสิ่งที่สอน (Ensuring mastery)
14. ได้ตรวจสอบหรือไม่ ? ว่าผู้เรียนทุกคนเข้าใจในทุกๆเรื่อง ทุกๆจุดที่สอน ?
15. เคยตรวจสอบหรือไม่ว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถฝึกทักษะได้หรือไม่ ?
จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน (Individual differences)
16. ยินยอมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ทำงานตามความสามารถและใช้เวลาที่ไม่เท่ากันหรือไม่ ?
17. เคยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยวิธีแตกต่างกันออกไปหรือไม่ ?
18. เคยใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธีหรือไม่ ซึ่งวิธีสอนมีหลายวิธี ดังนี้
- อธิบายจากหนังสือแล้วให้ผู้เรียนไปอ่านเองนอกเวลา
- อธิบายจากหนังสือแล้วให้อ่านหนังสือพร้อมกัน
- วิธีประชุมกลุ่มให้ผู้เรียนออกความคิดเห็นอภิปรายร่วมกัน
- การแสดงหรือเล่นละครสั้นๆ
- สอนจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์
- ใช้กรณีศึกษา
- ใช้วิธี constructivism
- ทำรายงานค้นคว้าเป็นรายบุคคล
- ทำรายงานค้นคว้าเป็นกลุ่ม
- วิธีสาธิต
- ให้มีการฝึกปฏิบัติ
- ให้ทำโครงการหรือโครงงาน
- การทัศนศึกษา
- จัดหาประสบการณ์ตรง (first hand experience) ทั้งในห้องเรียนและนอก
ห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
- ใช้วิธีการปฏิบัติให้เกิดกระบวนการทางปัญญา เป็นต้น
ให้การดูแลผู้เรียนทุกคน (Caring)
19. เคยให้ความมั่นใจแก่ผู้เรียนหรือไม่ว่าครูรักผู้เรียนทุกคนไม่ว่าจะทำดีหรือไม่?
20. แสดงให้ผู้เรียนเห็นหรือไม่ว่าสนใจและเตรียมสอนอย่างดีตลอดช่วงเวลาที่สอน?
21. เคยฟังความคิดเห็น หรือให้ผู้เรียนวิจารณ์การสอนบ้างหรือไม่?
การสอนที่มีคูณภาพ
การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน และในองค์ประกอบนี้ครู-อาจารย์ผู้สอนและพฤติกรรมการสอนที่แสดงออกมา จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพหรือความสำเร็จในการเรียนรู้ของนักศึกษา ท่านเป็นครู-อาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จนั้น ได้เคยตรวจสอบพฤติกรรมการสอนของตัวท่านเองบ้างหรือไม่ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด ? คุณภาพในที่นี้หมายถึงคุณภาพตามเกณฑ์ที่ผู้คนทั่วไปพอใจหรือตามที่หน่วยงานที่น่าเชื่อถือเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
สอนตรง หมายถึง การใช้วิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาขั้นต้น เป็นการพัฒนาทางสมองในการเก็บรักษาเรื่องราว ข้อมูล เท็จจริง เน้นความสามารถในการจำความรู้ต่างๆ เช่น การจำกฎ หลักเกณฑ์ ทฤษฎีต่างๆ ได้ หากพิจารณาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ 0 -20%
สอนอธิบายขยายความ หมายถึง การสอนให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา ความรู้ สามารถอธิบาย แปลความหรือขยายความด้วยคำพูดของตนเองได้ การสอนระดับนี้เป็นการเน้นพัฒนาการ ความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างตนเองกับผู้อื่น หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้ว อยู่ในระดับ 21-40%
สอนคิด หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นส่วนประกอบย่อยๆ หรือความรู้ด้านต่างๆ พร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง คล้ายคลึงกันของส่วนประกอบย่อยๆ หรือความรู้ด้านต่างๆ เหล่านั้นด้วย หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ 41-60%
สอนสร้าง หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการบอกความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของส่วนประกอบย่อย ๆ หรือความรู้หลาย ๆ ด้าน และสามารถนำไปอธิบายให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา หรือนำไปใช้ได้ หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนินการเรียนการสอนแล้ว อยู่ในระดับ 61-80%
สอนค้นพบ หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการสังเคราะห์ หรือการรวมส่วนประกอบย่อย ๆ ของความรู้หลาย ๆ เรื่องให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถในการคิดเป็นอย่างมาก เป็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถประเมินค่าสิ่งต่างๆ ได้ หากพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดำเนะเนินการเรียนการสอนแล้วอยู่ในระดับ 81-100%
จากการสำรวจสภาพการเรียนการสอน และการประเมินผลการใช้หลักสูตรพบว่า ครู-อาจารย์ทั่วไป ส่วนใหญ่ยังคงจัดการเรียนการสอนโดยเป็นผู้อธิบาย บอกจด หรือเขียนกระดานดำ และเน้นเนื้อหาสาระมากกว่ากระบวนการ ภายใต้สภาพดังกล่าวจะไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ และก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถคิดดัดแปลงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ หรือประยุกติให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริงได้ เพราะเป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถตอบสนองศักยภาพและยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาให้เป็นไปตามที่หลักสูตรคาดหวัง กล่าวได้ว่ายังมีปัญหาทั้งในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวนักศึกษาเพื่อให้พวกเขามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครู-อาจารย์จึงต้องมีการทบทวนรูปแบบการสอนใหม่ ซึ่งจากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศได้เสนอว่า รูปแบบการสอนที่ดีนั้นควรเป็นในลักษณะของการสอนแบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม มีกิจกรรม มีการปฏิบัติ หรือเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงต้องจัดให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม หรือมีการปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนจะมีบทบาทน้อยลง ผู้เรียนจะมีโอกาสได้พัฒนาทักษะการคิดในระดับสูง รู้จักวางแผนการทำงาน ทำงานเป็น รู้จักตัดสินใจแก้ปัญหาได้ มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น และได้แสดงออกซึ่งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นวิธีการสอน (บางวิธี) ที่มีครูเป็นศูนย์กลาง และผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งตามนัยดังได้กล่าวมา ท่านผู้สอนควรเลือกวิธีหลังและ/หรือบูรณาการหลายๆ วิธีผสมกัน โดยให้สอดคล้องและเหมาะสมในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทบาทของครู-อาจารย์กับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. เป็นผู้จัดการ (Manager) ครู-อาจารย์จะเป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนทุกคน จัดการให้ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถความสนใจของตน
2. เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม (An Active Participant) เข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริงพร้อมทั้งให้ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and Resource) คอยให้คำตอบเมื่อผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ เพราะการให้ข้อมูล หรือความรู้ในขณะที่ผู้เรียนต้องการจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น
4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and Encourager) ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor) คอยตรวจสอบงานที่ผู้เรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้ผู้เรียนคนอื่นๆโดยเฉพาะความถูกต้อง
เปรียบเทียบผลการเรียนรู้แบบครูเป็นศูนย์กลางกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง วิธีสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. ด้านบทบาทครู 1. ด้านบทบาทครู
1) มุ่งสอนเนื้อหาและการจำเนื้อหาได้ 1) มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ศักยภาพ ความคิด
2) จะบอก เล่า สั่ง อธิบายเนื้อหา 2) กระตุ้นให้เด็กคิดและปฏิบัติตามความคิด
3) ครูจะจัดกิจกรรมแบบ Passive Learning 3) ครูจัดกิจกรรมแบบ Active Learning
4) ปฏิสัมพันธ์จะเป็นแบบทางเดียว ครูจะเรียนร่วมกับผู้เรียนและคิดหาวิธีการ
ใหม่ๆเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. ด้านผลที่เกิดกับผู้เรียน : 2. ด้านผลที่เกิดกับผู้เรียน :
ด้านการคิดและด้านบุคลิกภาพ ด้านการคิดและด้านบุคลิกภาพ
1. คิดได้จำกัด คิดช้า 1. คิดเป็น เรียนรู้โดยการคิดแบบปฏิบัติ
2. เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบนิรนัย 2. เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบอุปนัย
3. จะมีบุคลิกภาพแบบพึ่งพา ไม่เชื่ออำนาจในตน 3. มีบุคลิกภาพแบบพึ่งตนเอง เชื่ออำนาจในตน
4. เชื่อฟัง ทำตาม ว่าง่าย 4. ใช้เหตุใช้ผล วิเคราะห์ สังเคราะห์
วิธีการจัดกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ขั้นตอนกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีดังนี้ คือ
1. ขั้นนำ
- สร้าง/กระตุ้นความสนใจ หรือ
- เตรียมความพร้อมในการเรียน
2. ขั้นกิจกรรม
จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ โดยกิจกรรมควรมีคุณสมบัติดังนี้
- ช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้ (Interaction)
- ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Participation)
- ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการ (Process) ควบคู่กับผลงาน (Product)
- ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ (Application) 3. ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลจากกิจกรรม- วิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรม (Product)- วิเคราะห์ อภิปรายกระบวนการเรียนรู้ 4. ขั้นสรุป และประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ การสอนที่มีคุณภาพ คือการสอนให้ผู้เรียนสามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และความสามารถในการคิดของคนเรานี้โดยทั่วไปเชื่อว่าอยู่ที่สมอง คนเก่งมักได้รับการยกย่องว่ามีมันสมองดี นักวิทยาศาสตร์พบว่าการทำให้คนมีสมองดีนั้น ทำได้โดยการกระตุ้นให้มีการขยายสาขาของประสาท (neural branching) เพื่อสร้างจุดต่อ (synapses) ระหว่างเซลล์ให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการส่งต่อสัญญาณได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง Cardellichio และ Field (อ้างถึงใน สุรศักดิ์, 2540 : 21-24) ได้เสนอแนะแนวทางในการทำให้สมองมีประสิทธิภาพไว้ 7 วิธี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. ฝึกการคิดแบบสมมติฐาน (Hypothetical thinking)
2. ฝึกการคิดกลับทิศทาง (Reversal)
3. ฝึกการใช้แบบสัญลักษณ์ใหม่ (Application of different symbol)
4. ฝึกการอุปมาอุปมัย (Analogy)
5. ฝึกการวิเคราะห์แนวความคิด (Analysis point of view)
6. ฝึกการเติมให้สมบูรณ์ (Completion)
7. ฝึกวิเคราะห์ความเกี่ยวโยง (Web analysis)
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น